วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

ประวัติ
             การบริหารแผ่นดินในต้นรัตนโกสินทร์นั้น คงดำเนินตามแบบที่ได้ทำมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ผิดแต่ว่ามีกรมต่างๆ เพิ่มขึ้นบ้าง แต่หลักของการบริหารนั้น คงมีอัครมหาเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม ว่าการฝ่ายทหาร สมุหนายก ว่าการพลเรือน ซึ่งแบ่งออกเป็นกรมเมืองหรือกรมนครบาล กรมวัง กรมคลัง และกรมนา
ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงบรรลุนิติภาวะเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติด้วยพระองค์เองเมื่อ พ.ศ. 2416 นั้น เนื่องจากพระองค์ได้เสด็จต่างประเทศดูแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรป นำมาใช้ในสิงคโปร์ ชวา และอินเดียแล้ว ทรงพระราชปรารภว่า สมควรจะได้วางระเบียบราชการ บริหารส่วนกลางเสียใหม่ตามแบบอย่างอารยประเทศ โดยจัดจำแนกราชการเป็นกรมกองต่าง ๆ มีหน้าที่เป็นหมวดเหล่า ไม่ก้าวก่ายกัน ดังนั้นใน พ.ศ. 2418 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกระทรวงพระคลังออกจากกรมท่า หรือต่างประเทศ และตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ทำหน้าที่เก็บรายได้ของแผ่นดินทุกแผนกขึ้นเป็นครั้งแรก
ต่อจากนั้น ได้ทรงปรับปรุงหน้าที่ของกรมต่างๆ ที่มีอยู่มากมายเวลานั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยรวมเข้าเป็นกระทรวง กระทรวงหนึ่งๆ ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่งหรือหลายอย่างพอเหมาะสม กระทรวงซึ่งมีอยู่ในตอนแรกๆ เมื่อเริ่มเถลิงราชสมบัตินั้นเพียง 6 กระทรวง   คือ
เพื่อให้เหมาะสมกับสมัย จึงได้เปลี่ยนแปลงหน้าที่ของกระทรวงบางกระทรวง และเพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง คือ
  • กระทรวงการต่างประเทศ แบ่งหน้าที่มาจากกระทรวงการคลังเก่า มีหน้าที่ตั้งราชทูตไปประจำสำนักต่างประเทศ เนื่องจากเวลานั้นชาวยุโรปได้ตั้งกงสุลเข้ามาประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บ้างแล้ว สมเด็จกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นเสนาบดีกระทรวงนี้เป็นพระองค์แรก และใช้พระราชวังสราญรมย์เป็นสำนักงาน เริ่มระเบียบร่างเขียนและเก็บจดหมายราชการ ตลอดจนมีข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อยมาทำงานตามเวลา ซึ่งนับเป็นแบบแผนให้กระทรวงอื่นๆ ทำตามต่อมา
  • กระทรวงยุติธรรม แต่ก่อนการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ได้รวมอยู่ในกรมเดียวกัน และไม่ได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน เป็นเหตุให้วิธีพิจารณาพิพากษาไม่เหมือนกัน ต่างกระทรวงต่างตัดสิน จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวมผู้พิพากษา ตั้งเป็นกระทรวงยุติธรรมขึ้น
  • กระทรวงโยธาธิการ รวบรวมการโยธาจากกระทรวงต่างๆ มาไว้ที่เดียวกัน และให้กรมไปรษณีย์โทรเลข และกรมรถไฟรวมอยู่ในกระทรวงนี้ด้วย
  • กระทรวงธรรมการ แยกกรมธรรมการและสังฆการีจากกระทรวงมหาดไทย เอามารวมกับกรมศึกษาธิการ ตั้งขึ้นเป็นกระทรวงธรรมการมีหน้าที่ตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ฝึกหัดบุคคลให้เป็นครู สอนวิชาตามวิธีของชาวยุโรป เรียบเรียงตำราเรียน และตั้งโรงเรียนขึ้นทั่วราชอาณาจักร
          กระทรวงในปัจจุบัน สมัยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นว่า กระทรวงเดิม ที่ปรับปรุงตาม พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม พ.ศ. 2534 จนถึง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ( ฉบับที่ 2-23 ) ล่าสุด พ.ศ. 2544 นั้น ไม่ทันต่อการบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้ เสนอ ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 และได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร ในปีเดียวกัน กำหนดให้ยกเลิก พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม เดิมที่มีอยู่ทั้งหมด และให้ใช้ พ.ร.บ.แบบนี้แทน โดยกำหนดในมาตรา 5 ให้มีกระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง หากไม่นับสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกระทรวง ซึ่งอยู่ในระดับการบริหารส่วนกลางเทียบเท่ากัน  จะมีทั้งหมด  19  กระทรวง ดังต่อไปนี้
1.กระทรวงกลาโหม
                                                    เครื่องหมายราชการ
                   ตราประจำตำแหน่งเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

บทบาทและหน้าที่              
      กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ป้องกันประเทศ เพิ่มขีดความสามารถ และรักษาผลประโยชน์ของชาติ สร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน และมิตรประเทศ เพื่อลดความหวาดระแวงสร้างสันติภาพ ให้ความสำคัญในการตอบสนองนโยบายเร่งด่วนของคณะรัฐมนตรี ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของกระทรวงกลาโหม ตลอดจนภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมายเป็นการเฉพาะ และมีหน้าที่พิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งในฐานะที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินการตามพระราชประสงค์
รัฐมนตรีว่าการ
      พลเอกประวิตร   วงษ์สุวรรณ
2.กระทรวงการคลัง

บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงการคลัง (อังกฤษ: Ministry of Finance) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ดินราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้ เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการและองค์การรัฐ สถาบันการเงินและรัฐวิสาหกิจ
รัฐมนตรีว่าการ
      นายกรณ์   จาติกวณิช
3.กระทรวงการต่างประเทศ
                                                           ตราบัวแก้ว

บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Foreign Affairs of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ
      ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ตราสำคัญในราชการไทยมีสามดวง คือตราพระคชสีห์สำหรับสมุหพระกลาโหม ซึ่งใช้ในราชการด้านการทหารทั่วไป ตราพระราชสีห์สำหรับสมุหนายก ใช้ในราชการด้านมหาดไทย และตราบัวแก้วประจำตำแหน่งพระคลัง กฎหมายไทยที่เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง" ก็เป็นเพราะมีการประทับตราทั้งสามดวงนี้ ซึ่งมีตราบัวแก้วรวมอยู่ด้วยดวงหนึ่ง
รัฐมนตรีว่าการ
       นายกษิต   ภิรมย์
4.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
บทบาทและหน้าที่     
       กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Tourism and Sports of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การกีฬา การศึกษา ด้านกีฬา นันทนาการ และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนด ให้อำนาจหน้าที่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
รัฐมนตรีว่าการ
      นายชุมพล   ศิลปอาชา
5.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
บทบาทและหน้าที่  
       กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์แห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Social Development and Human Security of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาสังคม การสร้างความเป็นธรรมและความเสมอภาคในสังคม การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงในชีวิต สถาบันครอบครัวและชุมชน
รัฐมนตรีว่าการ
      นายอิสสระ   สมชัย
6.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรม การจัดหาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบชลประทาน ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ส่งเสริมและพัฒนาระบบสหกรณ์ รวมตลอดทั้งกระบวนการผลิตและสินค้าเกษตรกรรม และราชการอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการ
      นายธีระ   วงศ์สมุทร
7.กระทรวงคมนาคม
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ยกระดับการให้บริการประชาชน ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และบริการคมนาคมขนส่ง ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ทำให้ระบบคมนาคมขนส่ง มีความปลอดภัย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผสานและเชื่อมโยง โครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งคนและสินค้า และขยายโอกาสการเดินทางสัญจร อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน

รัฐมนตรีว่าการ
      นายโสภณ   ซารัมย์
8.กระทรวงยุติธรรม
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงยุติธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Justice of Thailand) เป็นกระทรวงหนึ่งในประเทศไทยก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2434 มีภารกิจเป็นหน่วยงานหลักของกระบวนการยุติธรรม ในการดำเนินการเพื่อพัฒนากฎหมาย และระบบบริหารจัดการของ กระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นเอกภาพ โปร่งใส คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ช่วยเหลือและให้ความรู้แก่ประชาชนทางกฎหมาย ป้องกัน ปราบปราม แก้ไข ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด รวมทั้งป้องกัน แก้ไขปัญหาอาชญากรรมในสังคมและอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การบังคับคดี ทางแพ่ง บังคับคดีทางอาญา บำบัดแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
รัฐมนตรีว่าการ
       นายพีระพันธุ์   สาลีรัฐวิภาค
9.กระทรวงแรงงาน
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงแรงงานเป็นองค์กรหลักในการบริหารแรงงาน  พัฒนาประชากรให้มีงานทำ  มีศักยภาพ  สนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขัน  มีหลักประกันมั่นคง  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน
 รัฐมนตรีว่าการ      
      นายเฉลิมชัย   ศรีอ่อน
10.กระทรวงวัฒนธรรม
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงวัฒนธรรม (Ministry of Culture) เป็นกระทรวงที่มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับวัฒนธรรม ภาษา ศาสนา และขนบธรรมเนียมประเพณีอื่นๆ
รัฐมนตรีว่าการ
      นายนิพิฏฐ์   อินทรสมบัติ
11.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (อังกฤษ: Ministry of Science and Technology of Thailand) มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน ส่งเสริม และพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รัฐมนตรีว่าการ
      ดร.วีระชัย   วีระเมธีกุล
12.กระทรวงศึกษาธิการ

บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม
รัฐมนตรีว่าการ
      นายชินวรณ์   บุณยเกียรติ
      นางนริศรา   ชวาลตันพิพัทธ์   รัฐมนตรีช่วยฯ 1
      นายไชยยศ   จิรเมธากร   รัฐมนตรีช่วยฯ 2

13.กระทรวงสาธารณสุข
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Public Health of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคภัย การฟื้นฟูสมรรถภาพของประชาชน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
รัฐมนตรีว่าการ
      นายจุรินทร์   ลักษณวิศิษฏ์
      นางพรรณสิริ   กุลนาถศิริ   รัฐมนตรีช่วยฯ
14.กระทรวงอุตสาหกรรม
บทบาทและหน้าที่   
      กระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Industry of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการของไทย ประเภทกระทรวง ดูแลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ของประเทศ

รัฐมนตรีว่าการ
      นายชัยวุฒิ   บรรณวัฒน์
15.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Natural Resources and Environment of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดการการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และดูแลหน่วยงานราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รัฐมนตรีว่าการ
      นายสุวิทย์   คุณกิตติ
16.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Information and Communication Technology of Thailand) หรือที่นิยมเรียกกันตามภาษาพูดว่า กระทรวงไอซีที เป็นกระทรวงที่ทำหน้าที่ดูแลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ
รัฐมนตรีว่าการ
      นายจุติ   ไกรฤกษ์
17.กระทรวงพลังงาน
บทบาทและหน้าที่  
       กระทรวงพลังงาน (อังกฤษ: Ministry of Energy of Thailand) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและกำกับดูแลให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานแก่ประเทศ

ผู้บริหาร
      นายณอคุณ   สิทธิพงศ์
18.กระทรวงพาณิชย์


  กระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Commerce of Thailand) เป็นกระทรวงหนึ่งของประเทศไทยที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์   ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
บทบาทและหน้าที่  
   

  1. ภารกิจด้านในประเทศ มีหน้าที่ดูแลราคาสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกร ดูแลผู้บริโภคภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งการค้าสินค้าและธุรกิจบริการ รวมทั้งธุรกิจประกันภัย และคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา
  2. ภารกิจด้านต่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเจรจาภายใต้กรอบ WTO FTA อนุภูมิภาค ภูมิภาค ฯลฯ จัดระเบียบและบริหารการนำเข้าส่งออก รวมทั้งการขายข้าวรัฐต่อรัฐ การค้ามันสำปะหลัง สินค้าข้อตกลงต่างๆ แก้ไขปัญหา และรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เช่น การดูแลเรื่อง GSP การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออก
รัฐมนตรีว่าการ
      นางพรทิวา   นาคาศัย     
      นายอลงกรณ์   พลบุตร   รัฐมนตรีช่วยฯ
19.กระทรวงมหาดไทย
บทบาทและหน้าที่  
      กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย
      สื่อมวลชนไทย มักจะเรียกขาน กระทรวงมหาดไทย ว่า กระทรวงคลองหลอด
รัฐมนตรีว่าการ
      นายชวรัตน์   ชาญวีรกูล
      นายถาวร   เสนเนียม   รัฐมนตรีช่วยฯ 1
      นายบุญจง   วงศ์ไตรรัตน์   รัฐมนตรีช่วยฯ 2

แหล่งที่มา
     
      จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org
      กระทรวงในประเทศไทย